เศรษฐศาสตร์จุลภาค/มหภาค
ปัจจุบันนักเศรษฐศาสตร์แยกการศึกษาเศรษฐศาสตร์ออกเป็น 2 สาขาใหญ่ๆ คือ
เศรษฐศาสตร์จุลภาค (microeconomics) เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของหน่วยเศรษฐกิจใดหน่วยเศรษฐกิจหนึ่ง เช่น การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภครายใดรายหนึ่งว่าจะมีการตัดสินใจในการเลือกบริโภคสินค้าและบริการอย่างไร จำนวนเท่าใด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความพอใจสูงสุดภายใต้ขีดจำกัดของรายได้จำนวนหนึ่ง พฤติกรรมของผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งว่าจะตัดสินใจเลือกผลิตสินค้าอะไร จำนวนเท่าใด ด้วย วิธีการอย่างไร และจะกำหนดราคาเท่าไร จึงจะได้กำไรสูงสุด ศึกษาพฤติกรรมการลงทุน การออมของ บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ศึกษากลไกตลาดและการใช้ระบบราคาเพื่อการจัดสรรสินค้า บริการ และทรัพยากร อื่นๆ จะเห็นได้ว่าเศรษฐศาสตร์จุลภาคส่วนใหญ่จะเป็นการศึกษาเรื่องที่เกี่ยวกับราคาในตลาดแบบต่างๆ นักเศรษฐศาสตร์บางท่านจึงเรียกวิชาเศรษฐศาสตร์อีกชื่อหนึ่งว่า ทฤษฎีราคา (Price Theory)
ที่มา: http://www.wphat.com/knowledge/onlinebooks/econ_ele/econ/eco1.htm
เศรษฐศาสตร์จุลภาค เป็นการศึกษาเศรษฐกิจของหน่วยย่อย เช่น การกำหนดราคาของสินค้าแต่ละชนิด ต้นทุนและปริมาณการผลิตของสินค้าแต่ละชนิด หรือแต่ละอุตสาหกรรมในตลาดสินค้าแบบต่างๆ การกำหนดราคาของปัจจัยการผลิต เป็นต้น
ทฤษฎีที่ใช้วิเคราะห์ปัญหาเศรษฐกิจจุลภาค มีมากมายหลายทฤษฎี เช่น
ทฤษฎีผู้บริโภค ทฤษฎีการผลิต ทฤษฎีการกำหนดราคาของปัจจัยการผลิต หรือทฤษฎีราคา เป็นต้น
เศรษฐศาสตร์มหภาค (macroeconomics) เป็นการศึกษาภาวะเศรษฐกิจโดยส่วนรวม ทั้งระบบเศรษฐกิจหรือทั้งประเทศ อันได้แก่ การผลิตของระบบเศรษฐกิจ การบริโภค การออม และการลงทุนรวมของประชาชน การจ้างงาน ภาวะการเงินและการคลังของประเทศ ฯลฯ เศรษฐศาสตร์มหภาคโดยทั่วไปจะครอบคลุมหัวข้อต่างๆ เช่น รายได้ประชาชาติ วัฏจักรเศรษฐกิจ เงินเฟ้อและระดับราคา การคลังและหนี้สาธารณะ เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ การเงินและสถาบันการเงิน และเศรษฐศาสตร์การพัฒนา ฯลฯ
ที่มา: http://www.wphat.com/knowledge/onlinebooks/econ_ele/econ/eco1.htm
เศรษฐศาสตร์มหภาค เป็นการศึกษาเศรษฐกิจของทั้งระบบ ได้แก่ รายได้ประชาชาติ ระดับราคาสินค้า และบริการทั้งหมดโดยทั่วไป ความสัมพันธ์ระหว่างรายได้ การบริโภค การออม และการลงทุน ระดับการจ้างงานโดยทั่วไป การใช้จ่ายของรัฐบาล การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
ทฤษฎีที่สำคัญในการศึกษาเศรษฐศาสตร์มหภาค ได้แก่ ทฤษฎีการกำหนดรายได้และการจ้างงาน ซึ่งประกอบด้วยทฤษฎีย่อยๆ อีกหลายทฤษฎี
ที่มา: https://sites.google.com/site/jammyhandmade/neuxha-bth-reiyn/reuxng-thi-4-sersthsastr-mhphakh